จากห้างเก่าแก่สู่การปิดตัว: บทเรียนและโอกาสในธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่
เอาละครับ ในที่สุด เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 คือห้างฯ เก่าแก่ฝั่งธนก็ปิดไปอีกหนึ่ง ตามมาติด ๆ หลังจาก 2 ห้างดังในเชียงใหม่ และห้างฯใหญ่ในโคราชที่ต้องปิดตัวลง บางห้างฯก็ให้เหตุผล แต่ 2 ห้างฯ ที่ให้เหตุผลตรง ๆ ก็คือปัญหามาจากค่าไฟฟ้าที่แบกรับไม่ไหว ความจริงเป็นเช่นไร เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ในบทความนี้ผู้เขียนจะโฟกัสไปในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่น่าสนใจ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ Business Trend ที่เปลี่ยนไปมาก และจะเปลี่ยนไปอีกเยอะในเวลาต่อจากนี้
จุดกำเนิดของห้างสรรพสินค้าในไทย: จากธุรกิจเสือนอนกินสู่ความท้าทายในยุคดิจิทัล
เรื่องนี้ต้องย้อนไปที่ธุรกิจศูนย์การค้าเริ่มแรกในไทยเติบโตมาจาก “ห้างสรรพสินค้า” หรือ department store ที่เป็นธุรกิจเสือนอนกิน ให้สินค้าแบรนด์ดังไปเปิดเป็นเคาน์เตอร์เล็ก ๆ และขายสินค้าแล้วเงินเข้าแคชเชียร์ของห้าง ห้างฯ ตัดค่า GP ไป 30% พร้อมเครดิตเทอมอีก 30 – 60 วัน ห้างฯ จึงมีอำนาจต่อรองสูงมาก สินค้าไหนขายได้น้อยก็เขี่ยออกไป เอาสินค้าตัวใหม่ไปทดแทน นั่นก็เป็นเรื่องปกติของธุรกิจ ที่ทุกตารางเมตรในทุกห้างฯ จะต้องทำได้รายสูงสุด
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่: จาก Department Store สู่ Plaza Zone
จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อ เจ้าของห้างฯ ที่มีวิสัยทัศน์ เริ่มเห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง เริ่มทำการแยกโซนเป็น Department store Zone และ Plaza Zone สองโซนแยกกันอย่างชัดเจน เหมือนคนละโลก และเช่นกันจำนวนลูกค้าก็คนละเรื่องนั่นคือ Plaza Zone คนจะเยอะกว่าเยอะ เพราะความหลากหลายของแบรนด์ ซึ่งน่าดูน่าชม น่าซื้อ และท้ายที่สุด Plaza Zone ก็เป็นสิ่งที่ขายไม่ได้พร้อมกับกินสัดส่วนไปได้เรื่อย ๆ บางห้างจนแทบจะเหลือ department store zone แค่นิดเดียว และรายได้หลักมาจากค่าเช่าซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ ค่าเช่าวิ่งเข้าสู่ Bottom line ของ P&L ทันทีนั่นเอง
ห้างยักษ์ใหญ่ที่มีเงินทุนหนาจึงอยู่ได้สบาย โดยเพิ่มสัดส่วน Plaza Zone ขึ้นไปเรื่อย ๆ ในโครงการใหม่ ๆ และ department store zone แทบจะร้างคน แต่นั่นไม่ได้เป็นส่วนสำคัญ เพราะ Department store ก็ยังถือว่าเป็นแม่เหล็กที่ดีสำหรับแบรนด์ และอุ่นใจ
ความท้าทายของห้างท้องถิ่น: เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
แต่ห้างท้องถิ่นที่มีทุนน้อยกว่า ก็ยากที่จะขยับให้เปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที เพราะข้อจำกัดด้านเงินทุน และโครงสร้างเดิมที่ออกแบบไว้สำหรับ department store มันยากที่จะดัดแปลงให้เป็น Plaza Zone สมัยใหม่ที่ตอบโจทย์ทั้งแบรนด์ และลูกค้า อาจจะทำได้บ้างแต่ก็ยังเหลือสัดส่วนที่เยอะที่ยังต้องคงไว้ และสิ่งที่สำคัญของ department store ที่ทำเป็นหนามทิ่มแทงใจผู้ประกอบการก็คือ “ค่าไฟฟ้า” เพราะรูปแบบของ department store มันจะต้องเป็น Indoor Mall มันจะต้องตกแต่งให้สวยงาม สว่างไสว และที่สำคัญที่สุดคือ “ค่าแอร์” ซึ่งจะต้องจ่ายทั้งห้างให้เย็นฉ่ำ นั่นคือค่าไฟฟ้าสำหรับแสงสว่าง ค่าแอร์ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมหาศาลทุกเดือน
การเปลี่ยนแปลงของตลาด: เมื่อคู่แข่งเพิ่มขึ้น ในขณะที่ลูกค้าลดลง
ถามว่าสมัยก่อนทำไมถึงอยู่ได้ จ่ายค่าไฟฟ้าได้ นั่นเป็นเพราะสมัยก่อนไม่มีคู่แข่ง ไม่มี Lotus’s, Big C เข้ามาแย่งชิงลูกค้า ไม่มี Community Mall มาดึงคนไป ไม่มีธุรกิจออนไลน์ ไปชิงสัดส่วนเรื่องของสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องสำอางออกไป แต่ตอนนี้มากันครบทั้งยักษ์ใหญ่ ยักษ์ขนาดกลาง Hypermarket & Community Mall เปรียบเปรยได้ว่าลูกค้าที่เคยมีอยู่ 100 คน ถูกแย่งไปเกือบ ๆ 80 คน เหลือแค่ 20 คน แต่ค่าไฟฟ้าที่เคยจ่าย 50 บาท ก็ยังต้องจ่ายและจ่ายเพิ่มเป็น 60-70 บาทแล้วจะเหลืออะไร จริงไหมครับ นั่นคือความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้
ความสำเร็จของผู้ประกอบการท้องถิ่นบางราย: กลยุทธ์การปรับตัวที่ทันท่วงที
อย่างไรก็ดีมีผู้ประกอบการท้องถิ่นในหลาย ๆ จังหวัดก็ยังไปได้สวย และมีการพัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างทันท่วงที ทำให้รอดจากกับดักที่กล่าวมาได้ เพราะใช้แต้มต่อที่ตัวเองมีอยู่ พัฒนา Plaza แยกออกมาเองและก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี รอดตัวได้อย่างเฉียดฉิว และพอตั้งตัวได้ก็ leverage สิ่งที่เป็นแต้มต่อของตนเองทั้งชื่อเสียงและ suppliers ที่ผูกพันธ์กันมาหลายทศวรรษ พร้อมทั้ง brand awareness ที่เป็นที่จดจำของคนท้องที่ก็ยังไปได้สวยอยู่
ความท้าทายในอนาคต: เมื่อยักษ์ใหญ่ประกาศบุกตลาดทั่วประเทศ
แต่ก็ไม่แน่ว่าจะต้านได้อีกนานแค่ไหนเพราะยักษ์ใหญ่จากส่วนกลางได้ประกาศออกมาแล้วว่าจะเข้าไปเปิดไซต์ขนาดกลางในทุกจังหวัดในประเทศไทย นี่ก็คือคลื่นลูกที่ 4 ที่จะถาถมเข้ามากับผู้ประกอบการเหล่านี้
โอกาสท่ามกลางวิกฤต: การปรับตัวสู่ความสำเร็จ
อย่างไรก็ตามในดีมีเสีย ในเสียมีดี สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากตรงนี้น่าสนใจยิ่ง ถ้ามองเห็นและปรับตัวทันก็จะรอด แต่ถ้าไม่ทันก็อาจจะเจอกับคลื่นระลอกที่ 3-4 ก็เป็นได้ เพราะมันมีความจริงหลายอย่างที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป market environment ที่เปลี่ยนไป การปรับตัวของผู้ประกอบการศูนย์การค้าทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
กลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการ: การวางแผนเพื่อความอยู่รอดและเติบโต
ถ้าท่านเป็นผู้ประกอบการ อ่านมาถึงตรงนี้คงจะสัมผัสได้ถึงแนวโน้มที่เปลี่ยนไป การพัฒนาศูนย์การค้าขึ้นมาใหม่ ในแบบที่ลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้สูงขึ้นนั้น มันมีโจทย์ที่ต้องคิดในเรื่อง Operation Expenses เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างสำคัญยิ่ง มันจะไปสู่การวางยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เฉียบคมจริง ๆ เท่านั้นถึงจะสำเร็จได้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะไฟฟ้าจะเป็นต้นทุนที่จะทำให้อีกหลายห้างฯ ปิดในที่สุด
การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ ผู้ประกอบการควรพิจารณาการนำเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาใช้ เช่น ระบบแสงสว่าง LED ระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูง หรือแม้แต่การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง แต่นั่นก็คือยังเป็นปลีกย่อย หัวใจสำคัญคือยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง จะแก้ปัญหาและความเสี่ยงทุกอย่าง
โอกาสใหม่สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่: การสร้างศูนย์การค้ารูปแบบใหม่
นี่จึงเป็นโอกาสแก่นักลงทุน “หน้าใหม่” ที่จะเข้ามาสู่วงการธุรกิจ “อสังหาสำหรับการค้าปลีก” เพราะโอกาสเปิดกว้างขึ้นสำหรับการพัฒนาโครงการในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช่ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งคอมมูนิตี้มอลล์ในรูปแบบเดิม ๆ ตอนนี้ก็เรียกว่า “ล้าสมัย” เหตุเพราะว่า “แบรนด์” ทั้งหลายเขาหยุดขยายสาขาไม่ได้ เขายังต้องบุกขยายสาขาไปทั่ว และบางแบรนด์ยังพบกับความยากลำบากในการหาพื้นที่เปิดสาขา ทั้ง ๆ ที่มีที่ว่างเต็มไปหมดทั่วประเทศ แต่ที่ว่างนั่นก็เป็นเพราะพื้นที่ว่างเหล่านั้น “ไม่ตอบโจทย์”ของแบรนด์นั่นเอง
การสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของแบรนด์และผลประโยชน์ของนักลงทุน
สิ่งที่นักลงทุนจะต้องพัฒนาก็คือ “ตอบสนองความต้องการ” ของแบรนด์ทั้งหลาย พร้อมกับ balance อำนาจการต่อรองไปพร้อมกันด้วย เพราะในธุรกิจนี้การเจรจาต่อรองจะสูงด้วยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ต่อรองเรื่องค่าเช่า แต่ต่อรองเรื่องทำเลก็สำคัญยิ่งเช่นกัน พลาดแล้วพลาดเลย
การที่ไม่ Balance ให้ดีก็อาจจะเป็น “เหยื่อ” แบรนด์ได้เช่นกัน โครงการอาจจะดูว่าสำเร็จไปด้วยดี แต่พอไปดูงบการเงินอาจจะนั่งกัดนิ้วตัวเองก็ได้ ดังนั้นการ balance เป็นสิ่งที่สำคัญ และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่านั้นก็คือ “รู้เท่าทันแบรนด์” ถ้าไม่รู้เท่าทันก็จะเสียประโยชน์ในลักษณะที่ “ยิ้มทั้งน้ำตา” นั่นเอง
กลยุทธ์การสร้างความสำเร็จในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการใหม่ ๆ จำเป็นต้องมีการ Balance ที่ดีระหว่างการตอบโจทย์ความต้องการของแบรนด์ และการรักษาอำนาจต่อรองเพื่อไม่ให้โครงการตกเป็นเหยื่อของแบรนด์ ในขณะที่โครงการอาจดูเหมือนประสบความสำเร็จ แต่ถ้าหากไม่มีการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม รายรับจากค่าเช่าอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจคืนทุนในระยะที่กำหนดไว้
การที่ไม่ ฺBalance ให้ดีก็อาจจะเป็น “เหยื่อ” แบรนด์ได้เช่นกัน โครงการอาจจะดูว่าสำเร็จไปด้วยดี แต่พอไปดูงบการเงินอาจจะนั่งกัดนิ้วตัวเองก็ได้ ดังนั้นการ balance เป็นสิ่งที่สำคัญ และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่านั้นก็คือ “รู้เท่าทันแบรนด์” แต่อย่างไรก็ตามหาก balance ดีแล้ว และ ก็รู้เท่าทันเป็นอย่างดี นั่นก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะต้องมีอีกชั้นหนึ่งคือได้มี “กับดักทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี” ไว้ดีหรือยัง ถ้าวางไว้ไม่ดี การสร้างรายรับค่าเช่าแบบก้าวกระโดดอาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ นั่นคือระยะเวลา payback ยาวขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
มองไปข้างหน้า: อนาคตของห้างสรรพสินค้าและการปรับตัวของผู้ประกอบการ
การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ ผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัว เข้าใจความต้องการของตลาด และบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นผู้ที่อยู่รอดและเติบโตได้ในอนาคต ในขณะเดียวกัน โอกาสสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ก็เปิดกว้างขึ้น สำหรับการสร้างสรรค์โครงการที่ตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคและแบรนด์ต่าง ๆ
ท้ายที่สุด ความสำเร็จในธุรกิจนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดหรือเงินทุนเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงวิสัยทัศน์ ความเข้าใจในตลาด และความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจด้วย ผู้ที่สามารถนำเสนอคุณค่าที่แท้จริงให้กับทั้งผู้บริโภคและพันธมิตรทางธุรกิจ จะเป็นผู้ที่ยืนหยัดอยู่ได้ในตลาดที่มีการแข่งขันสูงนี้