คอมมูนิตี้มอลล์ [community-mall] ศูนย์การค้าสมัยใหม่
“คอมมูนิตี้มอลล์ 2025” หรือ Community Mall Gen 3 คอมมูนิตี้มอลล์ในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายทศวรรษที่แล้ว, โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ด้วยการเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลายในบรรยากาศที่เป็นกันเองและสะดวกสบาย
“คอมมูนิตี้มอลล์” หรือ “ศูนย์การค้าสมัยใหม่” ในยุคนั้น ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการพักผ่อนและจับจ่ายใช้สอย พร้อมทั้งเป็นแหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ รวมถึงทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน สำคัญยิ่งกว่านั้นในเมืองใหญ่ ที่มีความคับคั่งของจราจรและการเดินทาง ทำให้ความสะดวกสบายเป็นสิ่งแรกที่ ผู้คนในชุมชนพิจารณาเนื่องจาก การประหยัดเวลาในการเดินทาง ใช้เวลาน้อยในการเดินทาง การจอดรถที่สะดวกทำให้กิจกรรมต่าง ๆ รวดเร็วและสะดวกสบาย
ต่างจากศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หรือห้างสรรพสินค้า นอกจากจะหาที่จอดรถได้ยากแล้ว บางครั้งหลังจากซื้อสินค้าแล้วต้องเข็นรถเข็นรวมแล้ว อาจจะถึง 100 เมตร ทำให้ไม่สะดวกหลายประการ แม้จะมีความครบเครื่อง ทำให้ คอมมูนิตี้มอลล์ กลายเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยสมัยใหม่ที่ตั้งอยู่หน้าบ้าน มีพร้อมทั้งอาหารและของใช้ต่าง ๆ และสมัยนี้นั่งทำงานได้ทั้งวันจากบริการของร้านค้าแบรนด์ขนาดใหญ่ใช่ Starbucks และ Mc Donalds ที่เปิดให้ลูกค้าใช้นั่งทำงานได้ทั้งวัน
โอกาสและความเสี่ยงในการลงทุน
การลงทุนในคอมมูนิตี้มอลล์ ในยุค 2025 หรือ ผู้เขียนจะเรียกว่า “คอมมูนิตี้มอลล์ ยุค 3” มีทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โอกาสในการสร้างรายได้จากการเช่าพื้นที่และการดึงดูดลูกค้าเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจ อย่างไรก็ตาม, ความเสี่ยงจากการแข่งขันที่สูงและการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของตลาดสามารถส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนได้เช่นกัน นั่นคือในระหว่าง 10 ที่ผ่านมานี้ธุรกิจ คอมมูนิตี้มอลล์ มีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม ไม่สามารถใช้ sucess model ที่เคยสำเร็จมาเมื่อ 10 ปีก่อนมาเป็นตัวอย่างได้
การลงทุน คอมมูนิตี้มอลล์ ในปี 2025 เป็นต้นไปผู้ประกอบการจะต้องมีความเข้าใจอยู่ระดับหนึ่ง และ ถ้าไม่เข้าใจจะต้องมีที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ การเลือกที่ปรึกษาก็เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวได้เช่นกัน การมีปรึกษาที่ดีไม่ใช่แค่การแนะนำว่าจะวางยุทธศาสตร์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ แต่ต้องวางยุทธศาสตร์ที่ตรงตามความต้องการของ Anchor tenants หรือ แบรนด์ที่แข็งแรงระดับชาติทั้งหลาย ยุทธศาสตร์การวาง layout ให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย การวางแผนผิด การแก้ไขอาจจะต้องใช้เงินลุงทุนเพิ่มอีกหลายเท่า หรืออาจจะถึงขั้นล้มเหลวได้เลย
ดังนั้นการวางยุทธศาสตร์ครั้งแรกจึงสำคัญที่สุด การเผื่อทางเลือกเอาไว้ล่วงหน้า และวางผังออกมาแล้วแบรนด์ รู้สึกมั่นใจ เพราะตัวแทนของแบรนด์ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์สูงมาก บางครั้งเขาเห็นแค่ Layout เขาก็คาดการได้ว่าโครงการนี้จะ “รอดหรือไม่รอด” การมีที่ปรึกษาที่ดีจึงสำคัญ แต่เพื่อความสำเร็จสูงขึ้น การที่มี ที่ปรึกษาทางลับ อีกทางเพื่อ double check ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และบางครั้งการมีที่ปรึกษาทางลับก็พาออกทะเลได้เช่นกัน เพราะหลายราย ไปเอาผู้บริหารของห้างขนาดใหญ่ โปรไฟล์ดีมาเป็นที่ปรึกษาทางลับ เพราะที่ปรึกษาทางลับ ที่ไม่เคยใช้ยุทธศาสตร์แบบกองโจร ไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องของ underdog marketing หรือการสร้างยุทธศาตร์ชัยชนะจากการใช้วิธีการ มากกว่าทุน เพระที่ผ่านมาสำเร็จได้เพราะแรงหนุนจากห้างใหญ่ที่มีความพร้อมแทบทุกอย่าง เพียงแต่ทำตามแผนก็ได้โปรไฟล์แล้วเป็นต้น
การออกแบบและคุณสมบัติที่โดดเด่น
สมัยแรก คอมมูนิตี้มอลล์ที่ประสบความสำเร็จมักมีการออกแบบที่น่าสนใจและคุณสมบัติที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ แต่มีถึง 50% ที่ล้มเหลว เพราะเน้นการออกแบบที่ “สวยงาม” มากกว่าฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนอง 3 ฝ่ายนั่นคือ
- เจ้าของโครงการ
- ร้านค้า หรือ แบรนด์
- ลูกค้าในชุมชนนั้น ๆ
แต่ระยะ 15 ปีที่ผ่านมาผู้พัฒนาคอมมูนิตี้มอลล์ หรือศูนย์การค้าสมัยใหม่ มักจะทำตามบริษัทฯที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงอยู่ประมาณ 5 บริษัทฯ ในประเทศไทย และ บางโครงการต้องจ่ายค่าที่ปรึกษาในระดับที่สูงมากนั่นคือหลายล้าน และจำเป็นต้องเชื่อฟังที่ปรึกษา และ การออกแบบก็จะตามใจที่ปรึกษานั่นคือความสวยงามมาก่อน เอาไว้ถ่ายรูป Check In
แต่หารู้ไม่ว่า พอเน้นความสวยงามเป็นอันดับแรก จะต้องแลกกับประโยชน์ใช้สอย รวมถึงพื้นที่เช่าที่หายไป และพอประโยชน์ใช้สอยไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง ของหัวใจของการธุรกิจศูนย์ฯ การค้า ก็ทำให้ขาด Vareity นั่นคือความหลากหลาย พอขาดความหลากหลาย ก็มาแล้วได้ไม่ครบ ลูกค้าก็ไม่อยากย้อนกลับมาอีก
และ ที่หนักที่สุด ที่เจ้าของโครงการต้องเจ็บช้ำคือ พอเน้นความสวยงาม งบก่อสร้างก็สูงไปด้วยเป็นเท่าตัว และเหลือพื้นที่เช่าน้อย พอเหลือน้อยก็ทำให้ค่าเช่าพื้นที่แก่แบรนด์ต้องสูงขึ้นไปเป็นเท่าตัวกว่าจะคุ้มทุน ค่าเช่าแพงหนักแบรนด์ก็อยู่ไม่ได้ หรือไม่ไป นั่นคือสิ่งที่เจ้าของโครงการไม่เคยทราบ ณ วันแรกที่ตัดสินใจลงมือทำ
ดังนั้นคอมมูนิตี้มอลล์ ยุค 3 หรือ Community Mall Gen 3 ปัจจุบันนี้จะต่างออกไปจากอดีตเยอะมาก mind set เดิม ๆ ที่เคยใช้เมื่อ 20 ปีก่อนนำมาใช้ตอนนี้ไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นการจะลงทุนในสมัยนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดยังต้องมี “ที่ปรึกษา” หรือ consult ที่ดีและตรงไปตรงมา และเราในฐานะผู้บริหารโครงการ หรือเจ้าของโครงการ ก็จะต้องมีความรู้ระดับหนึ่ง ซึ่งเราก็จะมีคอร์สออนไลน์สอนเรื่องนี้เช่นกัน จะได้ไม่ถูกชี้นำไปในทางที่ผิด และ บางทีก็จะต้องมีที่ปรึกษาเงา ที่ปรึกษาเงาคือจะเอามาช่วยตรวจสอบที่ปรึกษาจริงอีกรอบหนึ่ง ดังนั้นที่ปรึกษาจริงยากที่จะหลอกเจ้าของโครงการได้
แต่ขอย้ำอีกทีว่า ที่ปรึกษาเงาเอง ก็ต้องระวังเช่นกันว่า บางทีมาจากห้างใหญ่ โปรไฟล์ดี มีชื่อเสียง แต่เขาอาจจะเคยทำงานบนสิ่งแวดล้อมที่มีความครบเครื่อง มีคนคิดยุทธศาสตร์ให้เสร็จสรรพ และมีเงินทุนมหาศาล เขาอาจจะพาท่านลงทะเลได้เช่นกัน หากท่านไม่ได้มีงบสู้เหมือนห้างขนาดใหญ่ ที่ปรึกษาที่ท่านจะปรึกษาคือต้องเก่งเรื่องยุทธศาตร์การรบแบบกองโจร มีทักษะใน Underdog Marketing จึงจะเหมาะสม เพราะจะได้เอาทักษะมาช่วยให้โครงการท่านเกิดบทเงินลงทุนที่น้อยกว่ามหาศาล
โดยสรุปการมีทีปรึกษาที่ดี ทำให้เข้าถึงแบรนด์ได้ตั้งแต่วันแรก รู้ถึงทิศทางของแบรนด์ตั้งแต่โครงการอยู่บนเศษกระดาษแล้ว ดังนั้นความเสี่ยงตรงนี้จึงลดลงไปเป็นอย่างมาก เพราะที่ปรึกษาจะเอาโครงการเราไป Pre-Sale ให้แก่แบรนด์ก่อนนั่นเอง ถ้าดูทิศทางแล้วไม่ดี เราก็ปรับการลงทุนได้ โดยเสียค่าที่ปรึกษาไปไม่กี่แสน ดีกว่าต้องติดหล่มอยู่หลัก 20 ล้านบาทโดยไร้ทางออกนั่นเอง
วัตถุประสงค์ของการให้เช่าอสังหาในรูปแบบต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ของ Shopping mall และอสังหาฯในประเภทอื่น ในมุมมองของการใช้ประโยชน์
อพาร์ทเม้น – ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย หลับนอน (จำเป็น) สำหรับคนทั่วไปที่มีกำลังซื้อต่ำถึงปานกลาง ค่าเช่าต้องถูก
อาคารสำนักงาน – ใช้เป็น back up office สำคัญคือค่าเช่าถูกและสะดวกสบายสำหรับพนักงาน
โกดัง – ใช้สำหรับวางสินค้า ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดถนนใหญ่ สำหรับว่าถนน และทางเข้าสะดวกสบายสำหรับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ ค่าเช่าต้องถูก
คอมมูนิตี้มอลล์ – ใช้สำหรับหาทำธุรกิจ ขายสินค้า หน้าร้าน ดังนั้นเขาต้องขายสินค้าให้ได้เยอะพอที่จะมีกำไรมาจ่ายค่าเช่า เงินเดือน และ ต้นทุนอื่น ๆ อีกหลายอย่าง จึงจำเป็นต้องอยู่ในทำเลที่มีคนเดินผ่าน มาจับจ่ายใช้สอย เป็นประจำถึงจะเหมาะและขายสินค้าได้ตามเป้ามหาย แต่การอยู่ในทำเลที่มีลูกค้าพร้อมซื้อ ก็จะต้องจ่ายด้วยค่าเช่าที่แพงขึ้นอีกหลายเท่าตัว หน้าที่ของผู้บริหารคอมมูนิตี้มอลล์อยู่ตรงนี้ คือทำอย่างไรให้คอมมูนิตี้มอลล์ของตัวเอง เป็นที่ที่ผู้คนหลั่งไหลมา ดังนั้นมันก็จะมีต้นทุนตรงนี้ ต้นทุนที่สร้างให้คนเข้ามาเดิน ซึ่งเป็นต้นทุนคนละส่วนกับค่าก่อสร้าง ผู้บริหารไม่เข้าใจตรงนี้จึงล้มเหลวเป็นจำนวนมาก
จะเห็นได้ว่า แค่วัตถุประสงค์ก็ต่างกันแล้ว เช่นกันกับทำเลที่ต่างกัน อพาร์ทเม้นต์ใช้พื้นที่ก้นซอยก็ทำได้ ราคาต่อห้องถึงได้ราคาถูก แต่ถ้ากลายเป็นอยู่ในกลางเมืองใหญ่เช่น กทม. ทำเลก้นซอย เอามาทำเป็น Service Apartment ก็ได้ค่าเช่าตารางเมตรละเป็น 1,000 ก็ทำได้เช่นกัน ดังนั้น ยุทธศาสตร์และกลยุทธ ในการทำธุรกิจก็จะต้องต่างกันอย่างมหาศาลทั้งในแง่ประโยชน์ใช้สอย ทำเล และกลุ่มลูกค้า
จุดประสงค์ของ เช่าอาคารพาณิชย์ VS เช่าศูนย์การค้า
มองเผิน ๆ จุดประสงค์การเช่าชองทั้ง 2 อย่างนี้เหมือนกัน แต่เอาเข้าจริงต่างกัน การตัดสินใจเช่าอาคารพาณิชย์ ผู้เช่าเขาเห็นสภาพปัจจุบันของอาคาร และทำเล นั้น ๆ แล้ว เห็นจำนวนคน เห็นความคึกคักของธุรกิจและผู้คน เขายอมเช่าในสภาพที่เขาเห็น เพราะเขาเห็นว่าน่าจะขายของได้ เขาอาจจะมีการนับจำนวนคน (Footfall Count) เพื่อประเมินยอดขาย จะเปิดกี่โมง จะปิดกี่โมง ไม่มีใครจะมาบังคับเขาได้ เพราะตั้งอยู่ข้างถนนสาธารณะ(เป็นส่วนใหญ่) กรณีนี้ผู้เช่าหรือแบรนด์ เขารู้แต่แรกแล้วว่าพวกเขาจะต้องพึ่งตัวเอง เพราะมีลูกค้าอยู่แล้ว แต่จะมีความสามารถในการแปลงคนเหล่านั้นมาเป็นลูกค้าของตัวเองได้หรือไม่ เป็นภาระและความรับผิดชอบของเขาเอง และพร้อมแบกความเสี่ยงจากการตัดสินใจของตนเอง
แต่การที่แบรนด์ หรือร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ระดับชาติ หรือระดับโลก จะตัดสินใจเช่าศูนย์การค้า แสดงว่าเขาเห็นศักยภาพของโครงการ ยุทธศสาสตร์และวิสัยทัศน์ของเจ้าของโครงการ ความสะดวกของลูกค้าในการจอดรถ มีร้านค้าเช่ามากมาย และมีร้านค้าดัง ๆ ( magnet) มาช่วยดึงลูกค้าเข้าศูนย์ ฯลฯ เขายอมรับสภาพ และพร้อมปฏิบัติกับกฏระเบียบอีกหลายอย่าง และ ค่าเช่าอาจจะเท่ากับ หรือ แพงกว่าตึกแถวข้างนอกห้างได้เช่นกัน แต่เขาต้องแบกความเสี่ยงเต็ม ๆ คือ เขาจำเป็นต้องพึ่งโครงการของเรา เกิน 50% ในการดึงลูกค้าเข้าศูนย์ฯ ถ้าโครงการเราฯ ไม่สามารถดึงลูกค้าเข้ามาได้ ร้านค้าภายในโครงการ ก็จะขายสินค้าไม่ได้ มันก็จะล้มกันเป็นโดมิโน่ จะเห็นได้ว่า ตึกแถวไม่พึ่งใคร พึ่งตัวเอง แต่มาเช่าอยู่ในศูนย์ฯ ต้องพึ่งเจ้าของศูนย์เกินกว่า 50% ที่เหลืออีก ที่เหลือถ้าโครงการเราฯ ดึงลูกค้ามาให้แล้ว ถ้าร้านค้าเก็บเกี่ยวไม่ได้ นั่นไม่ใช่ความผิดของโครงการ แต่อาจจะเป็นเพราะเรื่องกลุ่มลูกค้า หรือสินค้าไม่ตอบโจทย์ชุมชนฯลฯ ดังนั้นท่านจะเห็นความเหมือนและความต่าง อย่างที่ได้ยกตัวอย่างมา
การเป็นเจ้าของ Community Mall มันเป็นมากกว่าเรื่องของเงิน มันคือชื่อเสียงของผู้ประกอบการด้วย การเป็นเจ้าของ คอมมูนิตี้มอลล์ ที่ประสบความสำเร็จ จะทำให้เป็นคนสาธารณะทันทัน มีคนรู้จักทั้งจังหวัด รวมถึงผู้บริหารแบรนด์ดัง ๆ ทั่วประเทศ จะต่อยอดไปเรื่องอื่น ๆ มันก็จะง่ายขึ้นเยอะ แต่การเป็นผู้ประกอบการที่ล้มเหลว กลายเป็นตึกร้างก็ สร้างผลตรงกันข้ามเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการมือใหม่ จะต้องมีความรู้ระดับหนึ่ง และ ไม่เชื่อใครจนเกินไป เพราะเมื่อไรที่เริ่มทำโครงการ จะมี “ผู้รู้” เต็มไปหมด ตั้งแต่ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา พรรคพวก เพื่อฝุง ถ้าไม่หนักแน่นรับรองว่าจอดก่อนที่จะถึงเป้าหมาย และหลายกรณีถอยไม่ได้ เพราะลงเงินไประดับหลายสิบล้านแล้ว จะเดินหน้าต่อก็ไม่ได้อีกเพราะแบรนด์ไม่ยอมรับ มันมีหลายปัจจัยในการได้มาซึ่งความสำเร็จ ซึ่งสรุปได้แค่สองอย่างคือ ยุทธศาสตร์ที่ดี จะได้มาซึ่งกลยุทธที่เหมาะสม ที่จะนำมาสู่ความสำเร็จ การมีที่ปรึกษาที่ไม่มี “ความลำเอียง” คือไม่ได้แค่ค่า consult ค่าคอมมิชชั่น ที่ปรึกษาเหล่านี้ กจะให้ความเห็นอย่างเป็นกลาง เสียงเหล่านี้คือเสียงที่น่าฟัง
ภาพรวมทางการเงินของ คอมมูนิตี้มอลล์ และอสังหาฯประเภทอื่น
การสร้าง “คอมมูนิตี้มอลล์” หรือ ศูนย์การค้าขนาดเล็ก และ ขนาดกลาง ซึ่งในห้วง 10 – 15 ปีที่ผ่านมาเป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักลงทุนด้านอสังหาฯ เพราะมันเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า การลงทุนประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น
- อพาร์ทเม้น ห้องขนาด 20 ตารางเมตร อาจจะได้ค่าเช่า ตรม.ละ 200 – 300 บาท
- โกดังให้เช่า จะได้ตารางเมตรละไม่ประมาณ 80 – 200 บาท
- สร้าง office ให้เช่ก็จะได้เงินประมาณ 300 – 500 (เกรดธรรมดา) ถ้าเกรดสูงจะได้ 700+ แต่ต้องลงทุนระดับหลายร้อยล้าน
- สร้าง “คอมมูนิตี้มอลล์” ทำค่าเช่าได้สูงถึง 400 – 2,000 บาท/ตรม.
ยกตัวอย่างแค่ 4 เพื่อเปรียบเทียบให้ดูว่าเหตุใดศูนย์การค้าถึงเป็นที่น่าดึงดูดใจ เพราะค่าตอบแทนมันสูง และ มีรายได้แฝงอีกมากมาย จึงทำให้คนหันมาทำศูนย์การค้ากันเยอะ ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยที่มีทั้งประสบความสำเร็จ และ ล้มเหลวคละเคล้ากันไป แต่ถ้าเทียบสัดส่วน ณ วันนี้สามารถบอกได้ว่า “ล้มเหลว” มีมากกว่า “สำเร็จ” แต่ถ้านักลงทุนเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจเป็นอย่างดี โอกาสความล้มเหลวก็จะน้อยลงมากเช่นกัน มันขึ้นอยู่กับการวางยุทธศาสตร์ตั้งแต่ต้น
จริง ๆ ตลาดสดในอดีตก็คือ คอมมูนิตี้มอลล์ ของจริง เพียงแต่มันเป็น Model ทางธุรกิจที่เหมาะกับช่วงเวลาหนึ่ง จะเห็นว่าหลาย ๆ ตลาดเจ้าของก็เป็นหนึ่งในเศรษฐีประจำจังหวัดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าหลายช่วงเวลาที่ผ่านมา มีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่ตลาดสดไม่ได้ตอบโจทย์ เช่นที่จอดรถ ความสะอาด และตอนนี้หลาย ๆ ตลาดก็มีการปรับโฉมกันน่าดู บางตลาดทำเงินค่าเช่าได้เดือนละ 3-4 ล้าน และตลาดใหญ่บางที่ได้เดือนละ 30 ล้านไม่น้อยเลยนะครับ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ Community Mall
ในเบื้องต้น ก่อนที่จะเข้าใจภาพรวมของ คอมมูนิตี้มอลล์ นั้นชื่อมันก็บอกอยู่ว่า มันคือ” ศูนย์การค้าชุมชน” เอาจริง ๆ มันคล้าย ๆ กับ “ตลาดสด” เองนั่นแหละ เพียงแต่ว่าเป็น “ตลาดสดใน version ของความ “สะอาด+สะดวก+ครบครัน” ดังนั้นสิ่งแรกที่จะต้องตอบโจทย์ชุมชนก็คือมีของกินและของใช้ครบอยู่ในรูปแบบที่ สะอาด สะดวก นั่นเอง
- สะอาด – ไร้กลิ่นคาวเนื้อ คาวปลา ไม่มีหนูวิ่งไล่กันกัน ไม่มีกลิ่นเหม็นน้ำเน่า ผักเน่า ฯลฯ สรุปก็คือไม่เหมือน “ตลาดสด” ที่เราเคยรู้เห็นนั่นเอง
- สะดวก – เราทุกคนเคยไปตลาดสดกัน ที่จอดรถหาได้ยากมาก บางครั้งต้องจอดข้างถนน หรือ บางครั้งที่จอดรถในตลาด (ที่มีให้ไม่กี่คัน) ก็แย่งกันจอด ไม่มีระบบบริหาร จอดกันมั่ว บางทีเป็นหลุมเป็นบ่อ ซื้อของเสร็จหิ้วพะรุงพะลัง รถเข็นก็ไม่มีให้ใส่ ฝนตกก็ยากลำบากในการเข้าไปซื้อ
- ครบครัน – หรือในวงการใช้คำว่า “One Stop Shopping” ในขณะที่ตลาดสด เราไปได้ผัก ได้อาหาร ทั้งวัตถุดิบและสำเร็จรูป แต่มันเป็นการ รีบซื้อ แล้ว รีบกลับ ถ้าอยากจะได้อย่างอื่นพร้อมกันเช่น อยากได้ของใช้เด็กอ่อนด้วย อยากไปซื้อยาด้วย อยากไปล้างรถด้วย ที่ผ่านมา ตลาดสดไม่มีให้ (เพิ่งจะมาปรับปรุงกันตอนหลัง)
- แบรนด์ – ตรงนี้สำคัญที่สุดของการลงทุนใน คอมมูนิตี้มอลล์ ถ้าไม่มีแบรนด์ ก็จะเป็นตลาดสดธรรมดา ๆ แต่เมื่อไรมี brand เข้ามาภาพจะเปลี่ยนไปทันที เป็นการ Upgrade และยกระดับขึ้นไปทันที แบรนด์หนึ่งมาแบรนด์ที่ 2-3 ก็จะตามมาเรื่อย ๆ แบรนด์จะมาหรือไม่มาก็จะต้องดูว่าโครงการมีศักยภาพหรือไม่ เราก็จะต้องเข้าใจ ความต้องการของแบรนด์ ก็จะกลับไปดู 1-3 ข้างบน
ดังนั้นทุก ๆ ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ แม้กระทั่งคอมมูนิตี้มอลล์ ที่โด่งดังในอดีต ก็ถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงเข้ามา อย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Online Shopping แต่นั่นเป็นผลกระทบชั่วคราว ศูนย์การค้าก็ยังไปต่อได้เพราะ ไม่ใช่ทุกคนจะซื้อของ Online แต่ Online ก็จะมาช่วยกลั่นกรองเอง อะไรที่ซ์้อขายขายคล่องบน Online ก็จะไม่มาเปิดหน้าร้าน แต่ยังมีอีกมากมายที่อย่างไรเสียก็ไม่สะดวกที่จะซื้อขายแบบ Online ยังต้องออกมาเดินเลือกซื้อสินค้า พักผ่อน ผ่อนคลาย ไม่มีใครที่จะนั่งจมอยู่ที่บ้านทุกวัน นั่นคือ Offline ยังเป็นสิ่งจำเป็น
บทสรุปเกี่ยวกับ คอมมูนิตี้มอลล์ ในประเทศไทย
การลงทุนใน คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์การค้าสมัยใหม่ ให้ประสบความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่ง ถ้าเป็นนักพัฒนาหน้าใหม่เข้าสู่วงการ เพราะความไม่มีความรู้จะกลายเป็นเหยื่อให้หลายฝ่ายเข้ามาหาผลประโยชน์ และดึงลงเหวลึกลงเรื่อย ๆ จะก้าวออกก็ไม่ได้ จะเดินหน้าก็ไม่ไหว แต่คนที่มาให้คำปรึกษารับเงินเสร็จแล้วก็ไปรับงานใหม่ การแก้ไขเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง
ดังนั้นการเลือกที่ปรึกษาก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเราไม่มีความรู้จะถูกดึงไปมา จนเราหาทางออกไม่เจอและจมไปกับการลงทุน ดังนั้นการเลือกที่ปรึกษาที่ดี โอกาสประสบความสำเร็จมีเกิน 70% แต่แม้ว่าเราจะมีที่ปรึกษาที่ดี เราก็ยังควรจะมีความรู้ระดับหนึ่งที่ไม่ให้โดนชี้นำได้ ดังนั้นความรู้ตรงนี้จึงสำคัญ หากไม่รู้มีแหล่งเรียนรู้ที่ท่านเสียเงินไม่กี่บาท แต่เห็นภาพรวมทั้งหมดท่านสามารถคลิ๊กดูได้จากบทความนี้ได้ เพราะที่นี่สามารถบอกท่านได้เลยว่าโครงการแบบไหน ควรใช้ที่ปรึกษารายไหน เพราะมันนับกลุ่มได้เลยที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องคอมมูนิตี้มอลล์ในประเทศไทย รู้ฝีมือกันหมด